องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ : www.chumsangks.go.th

 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์


การป้องกันโรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox

    รายละเอียดข่าว

องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง ขอประชาสัมพันธ์ การป้องกันโรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox

โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox

เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา โดยเชื้อไวรัสนี้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น และสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้ ซึ่งการรายงานที่พบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานรนั่นเอง ซึ่งหมายความว่าลิงไม่ใช่แหล่งกำเนิดของโรคนี้อย่างที่เข้าใจกัน การระบาดที่พบในตอนนี้ เกิดในประเทศบนทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปเป็นส่วนใหญ่

อาการที่ควรเฝ้าระวังของโรคฝีดาษลิง

  1. อาการของโรคจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 7-14 วัน

  2. มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย

  3. ต่อมน้ำเหลืองโต

  4. หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายผื่นขึ้นตามตัว ซึ่งตุ่มเหล่านี้จะอักเสบและแห้งไปเองใน 2 – 4 สัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ดังนี้

4.1 มีตุ่มนูนแดงคล้ายผื่น

4.2 ภายในตุ่มมีน้ำใสอยู่ภายใน รู้สึกคัน แสบร้อน

4.3 ตุ่มใสกลายเป็นหนอง เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ตุ่มหนองเหล่านั้นจะแตกออกและแห้งไปเอง

  1. อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย

  2. บางรายที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัวอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้อาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้

โรคฝีดาษลิง

สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ หรือวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส แต่โรคนี้เราสามารถเฝ้าระวังได้ง่าย เพราะผู้ป่วยติดเชื้อจะมีตุ่มขึ้นตามร่างกายเป็นรอยโรคที่สังเกตได้ชัดเจน

การป้องกัน

  1. หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยงหรือสิ่งต่าง ๆ

  2. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงการแพร่ระบาด

  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยหรือสัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรค

  4. การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้



    เอกสารประกอบ

การป้องกันโรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox
 
    วันที่ลงข่าว
: 11 ส.ค. 2565
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ